เรื่องแย่ของวงการฟุตบอลญี่ปุ่น

เรื่องแย่ของวงการฟุตบอลญี่ปุ่น

เรื่องแย่ของวงการฟุตบอลญี่ปุ่น

ใช่ว่าฟุตบอลญี่ปุ่นจะรุ่งเรืองไปซะทีเดียว ในช่วงระหว่างทางของการสร้างทีมไปเล่นฟุตบอลโลกในปี 1998 เป็นช่วงเดียวกับที่ เศรษฐกิจของประเทศไม่สู้ดีนัก โดยในปี1997 ยอดคนดูเจลีก ลดลงเนื่องจากผลกระทบของฟองสบู่ที่แตก จากเดิมที่มีจำนวนแฟนบอลเฉลี่ย กว่า 6 ล้านคน ต่อฤดูกาล เหลือเพียงแค่ 3.5 ล้านคนในฤดูกาลนั้น

    ด้วยความที่เจลีก มีเอกลักษณ์ของตัวเอง และการแข่งขันมักจะถูกปรับเปลี่ยนในช่วงตั้งไข่ มีตั้งแต่แข่งขัน 2 สเตจ ในช่วงแรก, ยังมีการต่อเวลาเมื่อจบ90 นาที ออกไปอีก โดยในช่วงต่อเวลาจะใช้กฎ "โกลเด้นโกล" (ใครยิงประตูได้ชนะทันที) และ หากยังเสมอกัน ต้องยิงลูกโทษตัดสินหาผู้ชนะ การแข่งขันในรูปแบบดังกล่าวถูกใช้มาถึง 6 ปี ก่อนจะมาเปลี่ยนรูปแบบคือยังมีต่อเวลา แต่ไม่มียิงจุดโทษแล้ว ในฤดูกาล1999 และเปลี่ยนมาเป็นระบบสากลในช่วงหลังจบฟุตบอลโลก 2002 ที่ญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพกับ เกาหลีใต้ 
    ขณะที่ลีกยังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในช่วง10 ปีของการก่อตั้ง นักเตะที่ถูกอิมพอร์ตเข้ามาก็เลิกเล่นไปทีละคนสองคน แกรี่ ลินิเกอร์, ฮริสโต้ สตอยคอฟ, ดุงก้า, เลโอนาร์โด้ หรือแม้กระทั่ง อาร์แซน เวนเกอร์ ที่เข้ามาเป็นผู้จัดการทีม นาโกย่า แกรมปัส อโบกมือลาไปรับงานที่อาร์เซนอล เหล่านี้เป็นปัจจัยที่ทำให้เจลีกก่อนที่ญี่ปุ่นจะเป็นเจ้าภาพฟุตบอล ในปี 2002 ผู้ชมลดลง จนกระทั่งมีสโมสรล้มละลาย
    ฤดูกาล1999 สโมสร โยโกฮาม่า ฟูเกล เป็นทีมแรกที่ประกาศล้มละลาย เนื่องจากพิษเศรษฐกิจ ทำให้ต้องถูกควบรวมกับ คู่แข่งในเมืองเดียวกันอย่าง โยโกฮาม่า มารินอส กลายเป็นสโมสร โยโกฮาม่า เอฟ มารินอส (ทีมต้นสังกัดของ ธีราทร บุญมาทัน) แต่อย่างไรก็ตาม เมล็ดพันธุ์ของ โยโกฮาม่า ฟูเกล เดิมยังต่อยอด เมื่อเหล่าผู้บริหารบางกลุ่มที่ยังมีเงินทุน ได้ก่อตั้งสโมสรใหม่ขึ้นมาในนาม โยโกฮาม่า เอฟซี ลงเล่นในลีกสมัครเล่น ก่อนจะกลับขึ้นมาสู่เจลีกในฤดูกาล 2020 นี้เอง

    หลังจากผ่านช่วงเวลาร้ายๆ เจลีกอาศัยกระแสฟุตบอลฟีเวอร์ ในช่วงที่ ญี่ปุ่น เป็นเจ้าภาพ บอลโลก2002 ร่วมกับ เกาหลีใต้  ที่สามารถผ่านเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้ายได้เป็นครั้งแรกภายใต้การคุมทัพของ "พ่อมดขาว" ฟิลลิปส์ ทรุสซิเยร์  แม้ว่าจะเป็นรอง เกาหลีใต้ เจ้าภาพร่วมที่จบในอันดับ 4 แต่กระแสฟุตบอลของญี่ปุ่น ส่งผลถึงเจลีกให้แฟนบอลกลับเข้ามาชมเกมในสนามกันแน่นขนัดอีกครั้ง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สนามต่างๆที่เคยใช้งานในฟุตบอลโลก ก็มีสโมสรจับจองใช้งานกันแบบไม่เสียเปล่า 
    สิ่งหนึ่งที่นับตั้งแต่การเข้าสู่ยุคตกต่ำและเกิดการเปลี่ยนแปลงคือความเข้าใจในฟุตบอลมากขึ้นของคนญี่ปุ่น หลังจากจบฤดูกาล2001 "ดราแกน สตอยโควิช"  น่าจะเป็นนักเตะดังที่สุดของยุโรปที่มาค้าแข้งในญี่ปุ่นกับ นาโกย่า แกรมปัส เอต (ก่อนกลายเป็นผู้จัดการทีมในตำนานของนาโกย่า)
    สโมสร เจลีก ไม่นิยมนำดาวโรยมาค้าแข้งอีกแล้ว ด้วยเหตุผลที่ว่า ค่าเหนื่อยสูงเกินไป และนักเตะญี่ปุ่นพัฒนาขึ้นมามากแล้ว หลายสโมสรจึงตัดสินใจ ไม่ทุ่มทุนที่อาจจะเสี่ยงสู่การล้มละลายได้  แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วง 2-3 ฤดูกาลหลัง บางสโมสรในเจลีกกลับมามีแนวคิดดึงอดีตสตาร์ดังเข้ามาสร้างสีสัน ไม่ว่าจะเป็น ลูคัส โพดอลสกี้ , อันเดรส อิเนียสต้า, ดาบิด บีย่า  ที่อยู่กับ วิสเซล โกเบ, เฟร์นานโด ตอร์เรส  ที่เคยค้าแข้งกับ ซากัน โทซึ  ถือว่าเป็น "ตัวเรียกแขก" ได้เป็นอย่างดี
    เมื่อหลายสโมสรในเจลีก เรียนรู้ที่จะอยู่รอดทำให้นักเตะท้องถิ่นกลายเป็นขุมทรัพย์สำคัญที่นำพาพวกเขาเติบโตอย่างแข็งแกร่งอีกครั้ง ทุกสโมสรในญี่ปุ่นไม่รั้งตัวซุปเปอร์สตาร์เอาไว้กับทีมหากมีสโมสรในยุโรปสนใจ นอกจากโอกาสที่นักเตะจะได้พัฒนาตัวเองแล้ว เม็ดเงินที่สโมสรในยุโรปเหล่านั้นจ่ายมา ก็ไม่น้อยเลยทีเดียว 
    ตอนต่อไปตอนสุดท้าย เรามาดูกันว่า องค์ประกอบอะไรที่ทำให้ เจลีกกลายเป็นลีกที่โด่งดังไปทั่วเอเชีย โดยเฉพาะในประเทศไทย 
#TheJourneyofLegends #JLeagueReturn #JLeague #Siamsport #เจลีก
เรารวบรวมข่าวกีฬาที่น่าสนใจที่ UFABET911 สำหรับนักเดิมพัน
ข่าวฟุตบอลจาก SIAMSPORT.COM

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

UFABET

ทางเข้าUFABET168

เว็บพนันออนไลน์888